วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ 2 ประเภท คือ 1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบปฏิบัติการ หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์แลซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น MS - DOS , UNIX , Windows 95 , และ Mac System 7 เป็นต้น ระบบปฏิบัติงานมีหน้าที่หลัก ๆ คือ จัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ ที่เก็บข้อมูลสำรอง และเครื่องพิมพ์ จัดการงานในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้ ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่น เช่น การรับข้อมูล และการแสดงผล เป็นต้น ปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะถูกเรียกให้เริ่มต้นทำงานผ่านระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการทำงานอยู่เบื้องหลังการทำงานของผู้ใช้ โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรมหรือเครื่องที่มีขนาดใหญ่ก็ย่อมมีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะต้องดูแลการทำงานหลายอย่างจากผู้ใช้หลายคนพร้อมกัน 2.ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโคด (source code) ซึ่งมนุษย์จะอ่านโปรแกรมต้นฉบับนี้ได้แต่คอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจแต่ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งประกอบขึ้นจากรหัสฐานสองเท่านั้น จึงต้องมีการใช้โปรแกรม ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่าง ๆ ไปเป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วเรียกว่า ออบเจคโคด (object code) ซึ่งจะประกอบด้วยรหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไป ตัวแปลภาษาที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน จะต่างกันที่ขั้นตอนที่ใช้ในการแปลภาษาให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ สามารถแบ่งได้เป็น แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็วแต่ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลโดยการใช้อินเตอร์พรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้นำไปใช้ในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคด (Intermediate code) ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้น โดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที วินโดว์ (Window) ระบบปฏิบัติการวินโดว์ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน มีคนใช้มากกว่า 80 เปอร์เซนของตลาด สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่า ตลาดของวินโดว์กว้างใหย์มาก มีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์มากมายที่ใช้กับวินโดว์มากกว่าใช้กับระบบปฏิบัติการอื่น วินโดว์มีหลายรุ่น ได้แก่ ดอส (DOS: Disk Operating System),Window 98, Window NT Workstation, Windows 2000, Windows ME, Window XP เป็นต้น ระบบปฏิบัติการ ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการดั้งเดิมที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (microcomputer)ที่ใช้งานบนเครือข่าย ปัจจุบันยูนิกซ์ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (microcomputer) ที่เป็นเครื่องผู้ให้บริการ (server) บนเว็บ ยูนิกซ์มีหลายรุ่นจากการพัฒนาขององค์กรต่างๆ แต่รุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ลินุกซ์ (LINUX) ในขณะที่โปรแกรมอื่นๆ อย่าง วินโดว์ แมคโอเอส และยูนิกซ์ รุ่นต่างๆ เป็นโปรแกรมที่ต้องเสียเงินซื้อ แต่ ลินุกซ์ เป็นโปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี สามารถหาได้จากเว็บ UNIX เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มต้นใน Bell Labs เมื่อปี 1969 ในฐานะระบบ Interactive time -sharing ซึ่ง Ken Thompson และ Demiss Ritchie ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้คิดค้น UNIX ในปี 1974 Unix เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่เขียนด้วยภาษา C และเป็น freeware ซึ่งมีส่วนขยายและความคิดใหม่ในเวอร์ชันที่หลากหลาย จากบริษัทต่าง ๆ มหาวิทยาลัยและเอกชนทำให้ Unix กลายเป็นระบบเปิด หรือระบบปฏิบัติการมาตรฐานแรกที่ให้บุคคลทั่วไปสามารถปรับปรุงได้ ส่วนประกอบของภาษา C และ shell interface ของ UNIX อยู่ภายใต้มาตรฐาน Portable Operating System Interface ซึ่งอุปถัมภ์โดย Instituted of Electrical and Electronics Engineering ในส่วนอินเตอร์เฟซของ POSIX ได้มีการระบุ X/Open Programming Guide 4.2 (รู้จักกันในชื่อ "Single UNIX Specification" และ UNIX 95") เวอร์ชัน 2 ของ Single UNIX Specification เรียกว่า UNIX 98 ระบบปฏิบัติการ UNIX มีการใช้อย่างกว้างขวางในผลิตภัณฑ์ เวิร์กสเตชั่น ของ Sun Microsystems, Silicon Graphics, IBM และบริษัทอื่น ๆ สภาพแวดล้อมของ UNIX และแบบจำลองโปรแกรม Client/Server เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาอินเตอร์เน็ต และเปลี่ยนการประมวลผลแบบศูนย์กลางในเครือข่ายมากกว่าคอมพิวเตอร์อิสระ Linux เป็นอนุพันธ์ของ UNIX ที่มีทั้งเวอร์ชันฟรีและพาณิชย์ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะตัวเลือกของระบบปฏิบัติการ Unix เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการ (Operating System) อีกแบบหนึ่งซึ่งต่างออกไปจากระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น Windows หรือ Dos ระบบปฏิบัติการ Unix ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 1970 โดยมีรากฐานมาจากภาษา C โดยบริษัท AT&T เป็นผู้เริ่มต้นในการพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้จุดเด่นของ Unix ที่แตกต่างจาก Windows นั้นมีหลายประการ หากมองจากการใช้งานก็จะพบว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจาก Unix เป็นระบบปฏิบัติงานที่ใช้การพิมพ์คำสั่ง (Command Line) ส่วน Windows เป็นลักษณะ GUI (Graphic User Interface) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ให้ใช้งานง่าย เนื่องจากใช้รูปภาพเป็นสื่อ ทำให้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานยากกว่า Windows เนื่องจากต้องจดจำคำสั่ง(ซึ่งมีมากพอสมควร)ให้ได้ นอกจากนี้ Unix ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความแตกต่างกันในเรื่องอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่ ทำให้มักเกิดความสับสนสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ Unix ก็มีจุดเด่นที่เหนือกว่า Windows ในแง่ของประสิทธิภาพในการทำงาน โดยในระดับ Hardware ชุดเดียวกันระบบ Unix จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า นอกจากนี้ยังมีเสถียรภาพในการทำงานที่เหนือกว่า Windows ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเทียบกับ Windows ในตระกูล 9 x เช่น Windows95, 98, Me แล้ว Unix จะมีเสถียรภาพในการทำงานที่เหนือกว่าชนิดเทียบกันไม่ได้เลย คุณสมบัติที่ค่อนข้างโดดเด่นของ Unix นั้นได้แก่ - มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) คือ ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น Foreground และ Background - มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) Unix สามารถรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันนั่นเอง จากจุดเด่นนี้ทำให้พบว่าในปัจจุบันเรานิยมใช้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง Internet Server กันมาก โครงสร้างในการทำงานของ Unix Unix แบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ส่วนหลักนั่นคือ Application Program, Shell, Unix Kernel, Hardware โดยเราจะทำงานอยู่ในระดับนอกสุดคือ ระดับ Application Program จากนั้น Unix จะทำงานเป็นลำดับชั้นผ่าน Shell , Kernel และ Hardware ตามลำดับ - Shell ทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับ Kernel โดยทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์ input เช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลเป็นภาษาให้เครื่องเข้าใจ หรือเรียกว่า command interpreter และยังสามารถนำคำสั่งเหล่านี้มารวมกันในลักษณะของโปรแกรมที่เรียกว่าเชลล์สคริปต์ (Shell script) ได้ด้วย นอกจากนี้ยังควบคุมทิศทางของ input และ output ว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด Shell ที่ใช้งานบน Unix มีอยู่ 3 แบบคือ Bourne shell(sh), C shell(csh), Korn shell(ksh) (รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จากหนังสือหรือ website ที่เกี่ยวข้องกับ Unix โดยเฉพาะ) - Unix kernel มีหน้าที่ในการควบคุมระบบทั้งหมด หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นตัวคุม hardware นั่นเอง โดยจะทำหน้าที่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากร การจัดการหน่วยความจำ เป็นต้น แมคอินทอช (Macintosh) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการโปรแกรมแรกพร้อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ในปี ค.ศ. 1984 ซึ่งมีการใช้งาน หรือการสั่งงานผ่านทางหน้าจอที่มีรูปภาพ ทำให้ง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ในการลบไฟล์หรือย้ายไฟล์ต่างๆ MAC OS ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ล มีโปรแกรมไม่มากนักที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ล อย่างไรก็ตาม MAC OS ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่มีนวัตกรรมใหม่มากที่สุด มีประสิทธิภาพในการทำงาน และง่ายต่อการใช้งานอีกด้วย รุ่นล่าสุดในปัจจุบันคือ MAC OS X ซึ่งเป็นรูปภาพตรงส่วนที่เป็นไอคอน เมนูที่ใช้งานได้ง่าย แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548[3] แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา[4] โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551[5] แอนดรอยด์ เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซ และกูเกิลได้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์อาปาเช[6] ซึ่งโอเพนซอร์ซจะอนุญาตให้ผู้ผลิตปรับแต่งและวางจำหน่ายได้ รวมไปถึงนักพัฒนาและผู้ให้บริการเครือข่ายด้วย อีกทั้งแอนดรอยด์ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่รวมนักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ มากมาย ภายใต้ภาษาจาวา[7] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีโปรแกรมมากกว่า 700,000 โปรแกรมสำหรับแอนดรอยด์ และยอดดาวน์โหลดจากกูเกิล เพลย์ มากถึง 2.5 หมื่นล้านครั้ง[8][9] จากการสำรวจในช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม ในปี พ.ศ. 2556 พบว่าแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่นักพัฒนาเลือกที่จะพัฒนาโปรแกรมมากที่สุด ถึง 71% ไอโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012 ซิมเบียน (อังกฤษ: Symbian) คือ ระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ พัฒนาโดยบริษัท Symbian Ltd. โดยออกแบบสำหรับทำงานเฉพาะหน่วยประมวลผล ARM ปัจจุบันมีบริษัทที่ถือหุ้นส่วนอยู่ได้แก่ อีริกสัน (15.6%) โนเกีย (47.9%) พานาโซนิก (10.5%) ซัมซุง (4.5%) ซิเมนส์ (8.4%) และ โซนี อีริกสัน (13.1%) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซิมเบียนเริ่มใช้งานเมื่อในเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2541 ปัจจุบัน วินโดวส์โฟน เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล[3] แม้ว่าจะขัดกับมัน[4] มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร[5] เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011[6] เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของ ไมโครซอฟท์ http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20soft1.htm http://thntechnology-02-2.blogspot.com/2012/01/window.html http://thntechnology-02-2.blogspot.com/2012/01/linux.html http://zeepoty.tripod.com/Data1/28.htm http://thntechnology-02-2.blogspot.com/2012/01/mac-os.html http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C_(%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3) http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น